




suntari
makkasanpitaya scool

ความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร
ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็นกระบวนการทางสมองที่มีผลทำให้คิดได้กว้างไกลหลายแง่มุม หรือเรียกว่า ความคิด
แบบอเนกนัย ทำให้เกิดความคิดแปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความสามารถของสมองในการเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รอบตัว
เกิดการเรียนรู้และเข้าใจ จนเกิดเป็นปฏิกิริยาตอบสนองให้เกิดความคิดเชิงจินตนาการ นำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ เพื่อตอบ
สนองความต้องการหรือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งในชีวิตประจำวัน การเรียน และการทำงาน โดยอาศัยประสบการณ์และความรู้ที่สั่งสมมา
ความคิดสร้างสรรค์ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
1. ความคิดสร้างสรรค์ระดับต้น เป็นความคิดที่มีอิสระ แปลกใหม่ ยังไม่คำนึงถึงคุณภาพและการนำไปประยุกต์ใช้
2. ความคิดสร้างสรรค์ระดับกลาง เป็นความคิดที่เริ่มคำนึงถึงผลผลิตทางคุณภาพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้
3. ความคิดสร้างสรรค์ระดับสูง เป็นความคิดที่เกิดจากการสรุปสิ่งที่ค้นพบเป็นรูปธรรมนำไปใช้ในการสร้างหลักการ ทฤษฎีที่เป็นสากล
เพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพที่หลากหลาย
ความคิดสร้างสรรค์มีประโยชน์อย่างไร
ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถในการคิดที่แปลกใหม่ โดยอาศัยประสบการณ์ที่มีอยู่ในการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้
แก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงมีประโยชน์ ดังนี้
1.ช่วยในการแก้ปัญหา
โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และมีความสลับซับซ้อมมากยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาด้วยวิธีการเดิม ๆ มักใช้ไม่ได้ผล ความคิด
สร้างสรรค์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทั้งในระดับโลก ระดับชาติ ระดับองค์กร ระดับสถาบันการศึกษา จนถึงระดับปัจเจกบุคคลโลกปัจจุบันเป็น
ความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้แก้ปัญหาเดิม ด้วยวิธีการใหม่ทำให้ได้สิ่งที่ดีกว่า เพราะในโลกความเป็นจริงไม่มีรูปแบบใดอยู่ในสภาพตายตัว
ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นมิติของสถานที่หรือเวลา แต่มีความแตกต่างซ่อนอยู่เสมอ เพราะองค์ประกอบปลีกย่อยที่ผสมผสานแตกต่างกัน ดังนั้น
การเรียนรู้แบบเป็น “สูตร” จึงไม่สามารถใช้ได้ผลทุกครั้ง ต้องเรียนรู้วิธีการยืดหยุ่น เพื่อสามารถปรับตัวเข้ากับบริบทที่แตกต่างกัน การเรียน
รู้วิธีคิดสร้างสรรค์จะสามารถช่วยให้เราคิดได้อย่างเหมาะสม สำหรับเรื่องหนึ่ง ๆ ในเวลาหนึ่ง ๆ
2.ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่ไม่หยุดยั้ง
เทคโนโลยีในปัจจุบันมีการแข่งขันกันในด้านความสร้างสรรค์ เพื่อผลิตสิ่งใหม่ๆ ออกสู่ตลาด สินค้ารูปแบบเดิม แม้ดูเหมือนตอบ
สนองความต้องการของผู้บริโภคได้ในปัจจุบัน แต่หากไม่มีการพัฒนาเท่ากับเป็นการเดินถอยหลังไปเรื่อย ๆ เพราะเมื่อมีสินค้าที่ดีกว่า
ใหม่กว่าน่าสนใจกว่า ย่อมดึงดูดใจผู้บริโภคได้มากกว่า สินค้ารูปแบบเดิม ๆ อาจหายไปจากตลาดได้ บุคคลที่สามารถพัฒนาความคิด
สร้างสรรค์เพื่อสร้างนวตกรรมได้นั้น มักเป็นบุคคลที่ “ไม่พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี” ซึ่งความไม่พึงพอใจนี่เองที่ทำให้คิดค้นและพัฒนาสิ่ง
ต่าง ๆ ได้
3. ช่วยเราได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่าสิ่งเดิม ๆ
ความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตได้ จากการพยายามพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น พยายามมองปัญหาที่
เกิดขึ้นในบริบทที่เป็นอยู่ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาอาชีพตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันแทบทุกอาชีพต้องพึ่งพาคนที่มีความคิด
สร้างสรรค์ เพราะทุกองค์กรต่างต้องพัฒนาตนเองเพื่อก้าวสู่อนาคต
อุปสรรคของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จำเป็นต้องมีองค์ประกอบแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริม แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคที่จะขัดขวางการพัฒนา
ความคิดสร้างสรรค์หลายประการ ดังนี้
1. การมีมโนทัศน์ (Concept) เดิม คือ การที่บุคคลมีความคิด หรือการรับรู้ ว่าสิ่งของ บุคคล สภาพการณ์ที่พบเห็นอยู่นั้น มีมโนทัศน์
เดิมเป็นอะไร มีหน้าที่อะไร และฝังใจแค่เพียงว่าสิ่งนั้นต้องเป็นแบบ เดิม ตามที่ตนเองรับรู้เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถคิดได้ว่าสิ่งนั้นควรจะ
สามารถทำหน้าที่ในลักษณะอื่นได้อีก
2. การมีแนวคิดครอบงำ (Dominant Idea) เมื่อต้องการคิดทำสิ่งใหม่หรือคิดแก้ปัญหา โดยทั่วไปจะมีแนวคิดครอบงำในการแก้
ปัญหานั้นอยู่แล้ว ทำให้คนทั่วไปถูกแนวคิดครอบงำนี้ ชักจูงให้คิดแก้ปัญหาไปในทิศทางเดียวกันกับแนวคิดดังกล่าว เช่น การที่สมาชิกใน
กลุ่มที่มีความเด่น จะสามารถจูงใจให้กลุ่มมีแนวคิดเหมือนกับตัวเอง ทำให้ขาดแนวคิดในการมองปัญหาในแง่มุมอื่น
3. การมีความเชื่อเดิม (Assumption) เป็นการกำหนดขอบเขตของการแก้ปัญหาว่า แนวคิดในการแก้ปัญหาต้องอยู่ในขอบเขต
ทำให้คิดอยู่ในกรอบ ไม่อาจสร้างแนวคิดอื่นๆ ได้
